Statistics Statistics
367844
Online User Online2
Today Today23
Yesterday Yesterday283
ThisMonth This Month7,870
LastMonth Last Month8,673
ThisYear This Year25,184
LastYear Last Year116,526

พิธีบูชาพระราหู วัดศีรษะทอง

 

         พิธีบูชาพระราหู ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เมื่อผู้ใดประสบเคราะห์เกิดความไม่สบายใจต้องมาบูชาพระราหูเพื่อให้หายทุกข์โศก โดยจะมีคาถาบูชา พร้อมด้วยของดำ 8 อย่าง วัดที่รู้จักกันดีคือ วัดศีรษะทอง จังหวัดนครปฐม

 

ประวัติวัดศีรษะทอง

         สถานที่ตั้ง : อำเภอนครชัยศรี นครปฐม

         บรรยากาศ : วัดศรีษะทองสร้างจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในขณะที่มีการขุดดินสำหรับสร้างวัด ได้พบเศียรพระทองจมอยู่ในดิน จึงถือเป็นนิมิตที่ดี เลยได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า วัดหัวทอง ตั้งแต่นั้นมา เจ้าอาวาสองค์แรกคือ หลวงพ่อไต เป็นชาวลาวที่มาจากเวียงจันทน์ จากวัดเล็กๆ กลายมาเป็นวัดใหญ่ สืบทอดเจ้าอาวาสมาอีก 6 รุ่นจนมาถึง สมัยหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดและหมู่บ้านเป็นอย่างมาก ต่อมาทางการได้ขุดคลองเจดีย์บูชา แยกจากแม่น้ำนครชัยศรี ไปยังองค์พระปฐมเจดีย์เพื่อสะดวกในการเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ คลองนี้ผ่านพื้นที่ทางตอนใต้ของวัดหัวทองและหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงอพยพมาอยู่ใกล้คลองเพราะสะดวกในการคมนาคม วัดนี้จึงย้ายจากที่เดิมมาอยู่ใกล้คลองเจดีย์บูชาและเปลี่ยนชื่อเป็น วัดศีรษะทอง ต่อมาทางราชการได้ยกขึ้นเป็นตำบลศีรษะทองสืบมาจนถึงทุกวันนี้ ที่วัดศีรษะทองนี้มีประชาชนเป็นจำนวนมากที่นับถือ และนิยมมานมัสการพระราหู ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดศีรษะทองนี้ เพื่อความเป็นศิริมงคล

         จังหวัดนครปฐมเป็นวัดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพราะในแต่ละวันจะมีประชาชนนิยมมาสักการบูชาพระราหูเพื่อความเป็นสิริมงคลที่วัดนี้เป็นจำนวนมาก  ด้วยคติความเชื่อที่ว่าพระราหูนั้นเป็นเทพซึ่งสามารถบันดาลประโยชน์ปละโทษให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือสิ่งต่างๆได้   ดังนั้นจึงเกิดพิธีกรรมในการบูชาพระราหูขึ้นเพื่อช่วยให้โชคร้ายอันอาจจะเกิดขึ้นนั้นบรรเทาลงหรือกลับแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ดีงามกับชีวิต

          ตามประวัติกล่าวว่าวัดศีรษะทอง  สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  โดยมีการขุดพบเศียรพระทองในบริเวณที่มีการสร้างวัด  จึงเรียกวัดแห่งนี้ว่า “วัดหัวทอง” ต่อมาเมื่อทางการได้ขุดคลองเจดีย์บูชา  แยกจากแม่น้ำนครชัยศรีไปยังองค์พระปฐมเจดีย์  ผ่านพื้นที่ทางตอนใต้ของวัดหัวทอง และหมู่บ้านนั้น  ชาวบ้านได้ย้ายครัวเรือนมาอยู่ใกล้คลองมากขึ้น  เพื่อความสะดวกในการคมนาคม  วัดหัวทองก็ได้ย้ายจากที่เดิมมาอยู่ใกล้คลองเจดีย์บูชาด้วยและเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดศีรษะทอง” สืบมา

          วัดศีรษะทองได้พัฒนาและมีความรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมากในสมัยของหลวงพ่อน้อย  นาวารัตน์   อดีตเจ้าอาวาส  ท่านเป็นที่รู้จักเพราะเป็นต้นตำรับของการสร้างพระราหูอมจันทร์จากกะลาตาเดียว  เครื่องรางที่ได้รับความนิยมอย่างกว้าขวาง  และได้สร้างชื่อเสียงให้วัดศีรษะทองเป็นที่รู้จักมาจนถึงทุกวันนี้

           ตามตำนานกล่าวว่า  พระราหูนั้นมีลักษณะเป็นเช่นยักษ์ดุร้าย  มีฤทธิ์มาก  ผิวดำเหมือนิล  สถิตอยู่ในอากาศแวดล้อมด้วยม่านสีดำ  มีร่างกายเพียงครึ่งเดียวเพราะต้องจักรของพระนารายณ์  เนื่องจากในระหว่างที่ขโมยดื่มน้ำอมฤตอยู่นั้น พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้มาเห็นเข้าจึงนำความไปทูลพระนารายณ์  ทำให้ทรงกริ้วและขว้างจักรไปบั่นกายพระราหูขาดครึ่ง  แต่พระราหูนั้นไม่สิ้นชีพเนื่องจากได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไปครึ่งตัวจึงเป็นอมตะ  จากนั้นพระราหูจึงมีความแค้นเคืองในพระอาทิตย์และพระจันทร์ที่นำเรื่องไปทูลพระนารายณ์  จึงคอยเฝ้าจับพระอาทิตย์ และพระจันทร์กินอยู่เสมอ  หรือที่เรียกกันว่า สุริยคราส และจันทรคราส  นั่นเอง  พระราหูจึงเปรียบเช่นความเป็นอมตะเพราะไม่มีวันตายนั่นเอง

        ปัจจุบันวัดศีรษะทองได้จัดสร้างพระราหูขนาดใหญ่ไว้ให้ประชาชนได้มาสักการบูชาตามความเชื่อ และความศรัทธาส่วนบุคคลแต่ผู้บูชาพระราหูจะต้องมีศีล มีธรรม ทำคุณความดี และหมั่นทำบุญกุศลอยู่เสมอ ความร่ำรวยและโชคลาภนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้

ความเชื่อและวิธีการบูชา

         เชื่อกันว่าการกราบไว้ขอพรพระราหูนั้นเป็นการขอพรให้พ้นเคราะห์ต่างๆ และยังดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ  ช่วยให้การงานเจริญก้าวหน้า  และเชื่อว่าพระราหูยังเป็นเทพบูชาประจำตัวเพื่อเสริมบารมีของคนที่เกิดวันพุธกลางคืนอีกด้วย  แม้การบูชาพระราหูจะสามารถทำได้ตลอดเวลา  แต่ส่วนใหญ่นิยมบูชากันในวันพุธตอนกลางคืนโดยบูชาด้วยธูปดำคนละ  8 ดอก  พร้อมทั้งถวายเครื่องบูชาซึ่งเป็นสีดำทั้งหมด 8 อย่าง แทนความหมายต่างกันได้แก่  ไก่ดำ เหล้า  กาแฟดำ  เฉาก๊วย  ถั่วดำ  ข้าวเหนียวดำ  ขนมเปียกปูน ไข่เยี่ยวม้า

คาถาบูชาพระราหู

            คาถาสุริยะบัพพา  สำหรับบูชากลางวัน

            กุสเสโตมะมะ  กุสเสโตโต   ลาลามะมะ  โตลาโม  โทลาโมมะมะ  โทลาโมมะมะ  โทลาโมตัง  เหกุติมะมะ เหกุติ

            คาถาจันทบัพพา สำหรับบูชากลางคืน

            ยัตถะตังมะมะ  ตังถะยะ  ตะวะตัง  มะมะตัง  วะติตัง  เสกามะมะ  กาเสกัง  กาติยังมะม  ยะติกา

วันและเวลาเปิด- ปิด

            สามารถไหว้พระราหูได้ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)

 

ที่มา : http://www.nkppao.go.th/content-43-624.html