Statistics Statistics
3083379
Online User Online4
Today Today1,868
Yesterday Yesterday1,216
ThisMonth This Month18,657
LastMonth Last Month32,516
ThisYear This Year150,749
LastYear Last Year402,022

- หน่วยจัดหาและพัฒนาหนังสือ -
มี 3 ฝ่ายประกอบด้วย

1. ฝ่ายจัดหาและลงทะเบียนหนังสือ
2. ฝ่ายวิเคราะห์และลงรายการ
3. ฝ่ายเทคนิคก่อนนำออกบริการ


ความหมายของการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ 

     การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (Provision of information resources) หมายถึง วิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาและเพิ่มเติมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ ซึ่งการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดโดยทั่วไป จะกระทำใน 2 ลักษณะ คือ 
          1. การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นมาตรฐาน ได้แก่ ทรัพยากรที่ให้ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญของสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด ตามนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของห้องสมุดนั้น ๆ บรรณารักษ์จึงจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีจำหน่ายจากเครื่องมือช่วยเลือกทรัพยากรสารสนเทศ (Selection tools) ต่างๆ 
          2. การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ บรรณารักษ์ควรติดตามความเคลื่อนไหวของทรัพยากรสารสนเทศที่ออกมาใหม่ ๆ จากเครื่องมือช่วยเลือกทรัพยากรสารสนเทศเพื่อช่วยในการพิจารณาจัดหาเข้าห้องสมุด

วิธีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ เข้าห้องสมุดเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้นั้น วิธีที่ใช้เป็นส่วนใหญ่มี 5 วิธี ได้แก่  การจัดซื้อ การขอและรับบริจาค การแลกเปลี่ยน การบอกรับ และการผลิตหรือจัดทำขึ้นเอง 
     1. การจัดซื้อ การจัดซื้อเป็นวิธีที่ห้องสมุดใช้ในการจัดหามากที่สุด วิธีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศทั่วไปที่ห้องสมุดนิยมใช้ ได้แก่ การสั่งซื้อแบบรายย่อย (Single order) การสั่งซื้อแบบรวม (Grouped order) การสั่งซื้อแบบประจำ (Standing order) การสั่งซื้อแบบเสนอให้เลือก (Blanket approval order) และการสั่งซื้อแบบให้ตัวแทนเลือกให้ (Block order) 
     2. การขอและรับบริจาค การขอและรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศเป็นวิธีหนึ่งที่บรรณารักษ์ควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกับการจัดซื้อ เนื่องจากมีทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมากที่มีคุณค่าและไม่มีวางจำหน่าย แต่ผู้ผลิตยินดีที่จะบริจาคเพื่อเป็นวิทยาทาน และยังเป็นการประหยัดงบประมาณของห้องสมุดวิธีหนึ่ง บรรณารักษ์จึงควรติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวเพื่อได้ติดต่อขอรับบริจาคทรัพยากรนั้น ๆ 
     3. การแลกเปลี่ยน วัตถุประสงค์ของการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันระหว่างห้องสมุด คือ การจัดหาทรัพยากรที่ไม่มีจำหน่ายโดยทั่วไป เช่น วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ สิ่งพิมพ์ของห้องสมุดหรือหน่วยงานที่สังกัด รายงานการประชุมหรือสัมมนา รายงานประจำปี เป็นต้น ซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่จะแลกเปลี่ยนดังกล่าวห้องสมุดมีซ้ำ จำนวนมากเกินความจำเป็น หรือไม่ตรงกับความต้องการของห้องสมุด 
     4. การบอกรับ การบอกรับเป็นวิธีจัดหาวิธีหนึ่งซึ่งนิยมใช้กับทรัพยากรสารสนเทศที่มีการปรับปรุงสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้แก่ วารสาร และฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ เช่น บทความวารสาร หนังสือ วิทยานิพนธ์ รายงานการประชุม เอกสารอื่น ๆ เป็นต้น การบอกรับกระทำโดยการเป็นสมาชิกของสำนักพิมพ์/ผู้ผลิต หรือ ตัวแทนจำหน่าย /บริษัทผู้ให้บริการ 
การบอกรับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ สามารถบอกรับได้ 2 วิธี ดังนี้ 
1. การบอกรับจากสำนักพิมพ์/ผู้ผลิตโดยตรง หรือผ่านตัวแทนจำหน่าย/บริษัทผู้ให้บริการเช่นเดียวกับการบอกรับวารสาร 
2. การบอกรับในลักษณะเป็นภาคี คือ ห้องสมุดมากกว่าหนึ่งแห่งร่วมมือกันบอกรับเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน เนื่องจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์บางฐานมีราคาสูงมาก ห้องสมุดบางแห่งไม่สามารถบอกรับได้ หากร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายเพื่อบอกรับใช้งานร่วมกัน ทำให้สามารถบริการได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยห้องสมุดหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการบอกรับและให้บริการ และอาจได้รับส่วนลดหรือสิทธิพิเศษจากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย เช่น โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย (Thai Library Integrated System – ThaiLIS) ซึ่งห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐร่วมกันบอกรับฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการสถาบัน อุดมศึกษา ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบอกรับและให้บริการแก่สถาบันที่ร่วมโครงการ เป็นต้น 
     5. การผลิตหรือจัดทำขึ้นเอง ห้องสมุดจำเป็นต้องมีการผลิตทรัพยากรสารสนเทศเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ ซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดผลิตหรือจัดทำขึ้น ได้แก่ กฤตภาค รูปภาพ ดัชนี บรรณานุกรม จุลสาร วารสารและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของห้องสมุด สำเนาเอกสาร วัสดุย่อส่วน วีดิทัศน์ ซีดีรอม ดีวิดี ฯลฯ รวมทั้งการแปลงสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อประหยัดเนื้อที่จัดเก็บ หรือเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดโดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ เช่น หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน เป็นต้น ห้องสมุดจะให้บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในรูปแบบของแผ่นซีดีรอม แผ่นดีวิดี หรือฐานข้อมูลออนไลน์ที่เป็น Web-base applicatio

          ขั้นตอนการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ  
          นโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ