Statistics Statistics
3082571
Online User Online10
Today Today1,060
Yesterday Yesterday1,216
ThisMonth This Month17,849
LastMonth Last Month32,516
ThisYear This Year149,941
LastYear Last Year402,022

หน่วยส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้

หน่วยส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้  เป็นหน่วยบริการหนึ่งของงานห้องสมุด  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรับผิดชอบ
     รับผิดชอบและทำหน้าที่จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้ใช้บริการรักการอ่าน รู้จักแหล่งสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 
ภาระหน้าที่
        ๓.๑ กำหนดนโยบายและวางแผนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
        ๓.๒ การจัดกิจกรรมการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
        ๓.๓ กระตุ้นและส่งเสริมผู้ใช้บริการให้มีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้
        ๓.๔ รณรงค์  ร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกในการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
        ๓.๕ จัดกิจกรรม โครงการ  เพื่อบริการชุมชน
        ๓.๖ จัดนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
        ๓.๗ บริการส่งเสริมการอ่านและช่วยการช่วยค้นคว้า
        ๓.๘ บริการสร้างเสริมการเรียนรู้แก่โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร
        ๓.๙ จัดทำโครงการ  วางแผนการดำเนินงาน  ติดตามรายงานผลการดำเนินงาน  โครงการพระราชดำริ
        ๓.๑๐ สรุป  ประเมินผล  และรายงานผลโครงการตามพระราชดำริ
        ๓.๑๑ ร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกในการจัดทำโครงการตามพระราชดำริ
        ๓.๑๒ งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมายในด้านการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้  และบริการวิชาการและโครงการตามพระราชดำริ

คณะกรรมการดำเนินงานของหน่วยส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
    ๑. งานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า

บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า เป็นบริการที่สำคัญที่สุดที่ช่วยในการศึกษาค้นคว้าและทำรายงาน แบ่งได้ดังนี้
     ๑.๑ บริการตอบคำถาม เป็นบริการช่วยเหลือผู้ใช้ที่มีปัญหาในการใช้ห้อสมุดและการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ  วิธีการให้บริการอาจจะเป็นบริการตอบคำถามโดยตรงระหว่างผู้ใช้บริการกับบรรณารักษ์ หรือเป็นการตอบคำถามผ่านทางโทรศัพท์ หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  บางครั้งเรียกว่าบริการอ้างอิงดิจิตอล 
     ๑.๒ 
บริการส่งเสริมการอ่านและแนะนำการอ่าน  เป็นบริการที่มุ่งบริการใช้ข้อมูลสารสนเทศภายในห้องสมุด เช่น การจัดทำรายชื่อหนังสือใหม่ติดประกาศ การแสดงหนังสือใหม่ พร้อมเรื่องย่อ ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามป้ายนิเทศของห้องสมุด

     ความสำคัญของงานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
๑. ช่วยให้ห้องสมุดให้บริการตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง
๒. ช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรของห้องสมุดเพิ่มขึ้น
๓. ช่วยทุ่นเวลาผู้ใช้ห้องสมุด
๔. ช่วยให้ห้องสมุดมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใช้ห้องสมุด
๕. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดมองเห็นความสำคัญของห้องสมุดในฐานะที่เป็นคลังแห่งวิทยาการอย่างแท้จริง

     ขั้นตอนและเทคนิคในการบริการตอบคำถามคำถามจากผู้ใช้ในอดีตและปัจจุบันค่อนข้างแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังแตกต่างกันอีกในแต่ละประเภทของห้องสมุด ผู้ใช้ห้องสมุดประชาชนก็จะมีคำถามอย่างหนึ่ง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยก็จะมีคำถามอีกอย่างหนึ่ง ตามทฤษฎีนั้น คำถามที่ถูกถามสามารถแบ่งออกคร่าวๆ ได้เช่น คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริง คำถามที่ต้องการคำชี้แนะ คำแนะนำ หรือแม้กระทั่งคำถามทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับข้อมูลความรู้เลยก็เป็นได้ เช่น ถามเส้นทาง ถามหาบุคคล เป็นต้นแต่โดยความเป็นจริงแล้วคำถามประเภทที่ต้องการข้อเท็จจริงมีน้อยมาก อีกทั้งพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงพัฒนาการของวิชาการในสาขาต่างๆ ทำให้คำถามที่ถูกถามจึงเปลี่ยนไปตามยุคสมัยอย่างไรก็ตาม การตอบคำถามฯ ของบรรณารักษ์ก็ยังคงมีกระบวนการพื้นฐาน ๓ ประการ คือ
     ๑. การซักถามเพื่อทราบความต้องการของผู้ใช้
     ๒. การวิเคราะห์คำถามเพื่อเลือกหาแหล่งคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
     ๓. ขั้นตอนการค้นคว้าหาคำตอบ

การจัดนิทรรศการ หมายถึง การจัดแสดงข้อมูลเนื้อหาผลงานต่าง ๆ ด้วยวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีการวางแผนและออกแบบที่เร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการดู การฟัง การสังเกต การจับต้องและการทดลองด้วยสื่อที่หลากหลาย เช่น รูปภาพ ของจริง หุ่นจำลอง ป้ายนิเทศ และกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประกวด การแข่งขัน การบรรยาย การสาธิต การอภิปราย และการตอบปัญหา เป็นต้น
    ความสำคัญของนิทรรศการ
             นิทรรศการเป็นสื่อที่มีคุณค่าและมีศักยภาพสูงในการดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ดีเนื่องจากความหลากหลายของสื่อสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ชมได้       ดังนั้นนิทรรศการที่ดีจะมีอิทธิพลต่อผู้ชมในด้านความรู้ความเข้าใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอารมณ์และความรู้สึก การเปลี่ยนแปลงเจตคติ รวมทั้งการตัดสินใจดังจะเห็นได้จากตัวอย่างนิทรรศการทางการศึกษา ทางการค้าและทางศิลปวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการ
            ๑. เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ
            ๒. เพื่อสร้างความประทับใจ ให้ผู้ชมเกิดความเลื่อมใสศรัทธา
            ๓. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงทัศนคติไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
            ๔. เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือสร้างภาพพจน์ที่ดีของบุคลากร องค์กร หรือหน่วยงาน
            ๕. เพื่อสร้างความบันเทิง
            ๖. เพื่อเป็นการประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานโดยรวมของหน่วยงานหรือ องค์กรที่เป็นเจ้าของนิทรรศการแต่ละครั้ง
คุณค่าของนิทรรศการ
           ๑. เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ ความคิดและข้อมูลต่าง ๆ
           ๒. เป็นแหล่งถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้โดยอาศัยสื่อต่าง ๆจึงทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
           ๓. เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพโดยเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมใน กิจกรรมต่าง ๆ
           ๔. เป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะได้เป็นอย่างดี
           ๕. การใช้สื่อหลายชนิดในการจัดแสดงนิทรรศการ 
ประเภทของนิทรรศการ
          ๑. นิทรรศการวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ
      ๒. นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ  สัปดาห์ห้องสมุด เรื่องราวเฉพาะกิจ ข่าวความเคลื่อนไหวและโอกาสพิเศษต่าง
๓. งานการบริการข่าวสารทันสมัย
บริการข่าวสารทันสมัย เป็นบริการที่แจ้งให้ผู้ใช้ทราบข้อเท็จจริงข่าวสาร หรือความก้าวหน้าใหม่ๆ ในวิชาที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็วด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ห้องสมุดโดยสม่ำเสมอ
ความสำคัญของการบริการข่าวสารทันสมัย   
๑. นำเสนอข่าวสารที่น่าสนใจ ทันเหตุการณ์  ทันสมัยในช่วงเวลานั้น
๒. สร้างเสริมความสนใจ  ความเข้าใจในข่าวสารต่างๆ  
๓. คัดเลือกข่าวสารที่มีความน่าสนใจในช่วงเวลาขณะนั้น  และได้รับข่าวสารที่มีคุณภาพ
๔. งานการบริการวิชาการ / บริการชุมชน 
         งานบริการทางวิชาการ / บริการชุมชน หมายถึง   การที่สถาบันการศึกษาอยู่ในฐานะที่เป็นที่พึ่งของชุมชนหรือเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ หรือทำหน้าที่ใดๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาขึ้นของชุมชนในด้านวิชาการหรือการพัฒนาความรู้       ตลอดจนความเข้มแข็งของชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติโครงการบริการวิชาการที่มีผลต่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หมายถึงโครงการบริการวิชาการที่สถาบันจัดขึ้น   หรือดำเนินการขึ้นแล้ว   มีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแก่ชุมนในด้านต่าง ๆ และทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ตามศักยภาพของตน 
ลักษณะของการบริการวิชาการ 
       สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)   ได้กำหนดลักษณะและขอบเขตของการบริการวิชาการและวิชาชีพ 
           ๑. บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบและตรวจซ่อม 
           ๒. บริการเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ทางการศึกษา 
           ๓. บริการจัดฝึกอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการแบบเก็บค่าลงทะเบียน 
           ๔. บริการจัดฝึกอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการแบบให้เปล่า 
           ๕. บริการจัดฝึกอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการในลักษณะการว่าจ้าง 
           ๖. บริการเกี่ยวกับสุขภาพที่นอกเหนือจากหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง 
           ๗. บริการศึกษา วิจัย สำรวจ การวางแผน การจัดการ 
           ๘. บริการศึกษาความเหมาะสมของโครงการการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 
           ๙. บริการวางระบบ ออกแบบ สร้าง ประดิษฐ์ และผลิต
๕. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
    กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คือ กิจกรรมที่ห้องสมุดได้จัดทำและดำเนินการในโอกาสต่างๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ การศึกษาค้นคว้า และสนใจมาใช้บริการห้องสมุดมากขึ้น 
    ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด 
    การจัดกิจกรรมห้องสมุดเป็นการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด มีความกระตือรือร้นในการติดตามอ่านหนังสือหรือค้นคว้า มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถค้นคว้าหาข้อมูลมาจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด
     ๑. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้อ่านหนังสือ
     ๒. เพื่อจูงใจให้อ่านหนังสือ และเกิดนิสัยรักการอ่าน
     ๓. เปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
     ๔. เพื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
     ๕. เพื่อให้ผู้ใช้มาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้น